ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทรงเน้นความสำคัญของการพัฒนาประเทศ  ซึ่งจะต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยวิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ทรงมีพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย ทรงเน้น พอมีพอกินอีกครั้ง
เหตุผลสำคัญที่ทรงมีพระบรมราโชวาทเช่นนั้นเนื่องจากประเทศไทยได้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมา เน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่อุตสาหกรรมเป็นหลัก  โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นเงินกู้จากต่างประเทศ  ซึ่งจำเป็นต้องชำระหนี้ด้วยการส่งสินค้าออกทางการเกษตร  เป็นผลให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก  พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายลงผลที่ตามมาคือเศรษฐกิจของประเทศขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว  ในขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาช่องว่างระหว่างการกระจายรายได้เพิ่มขึ้น  โดยที่ภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าภาคเกษตรขณะที่การจ้างงานไม่ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับการขยายตัวของผลผลิต ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ที่ยังคงมีอาชีพการเกษตรได้รับผลกระทบ
ในการบรรลุเป้าหมายสุดท้ายในการสร้าง ความพออยู่พอกินให้กับประชาชนชาวไทยทุกคนโดยเฉพาะเกษตรกรผู้ยากไร้ในชนบท จากพระราชดำรัสในปีต่อ ๆ มา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ได้ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจ ดังนี้
    1. ปรับแก้สภาพทางกายภาพของพื้นดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
    2. เน้นความสามารถในการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีโดยเน้นความประหยัดแต่ถูกหลักวิชาการ
    3. ส่งเสริมการผลิตที่หลากหลาย  เพื่อลดความเสี่ยง  และช่วยให้เกิดกระแสรายได้ที่เหมาะสม
    4. ส่งเสริมสถาบันหรือองค์กรของเกษตรกรเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา
    5. ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร





หลังจากนั้นได้ทรงค้นคว้าทดลองอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 4 ธันวาคม  พ.ศ.  2537 ได้ทรงเผยแพร่ ทฤษฎีใหม่”  ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียงในปี พ.ศ. 2539 ทรงเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะนั้น ให้ มีความรอบคอบและอย่า ตาโต”   จนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปีพ.ศ. 2540 จึงเป็นที่มาของพระราชดำรัสที่ว่า  “การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ  สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”  พร้อมกันนั้นทรงอธิบายต่อว่า คำว่า พอเพียง  มีความหมายกว้างขวางกว่าความสามารถในการพึ่งตนเองหรือความสามารถในการยืนบนขาของตนเอง  เพราะความพอเพียง   หมายถึง  การที่มีความพอ  คือมีความโลภน้อย เมื่อโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย   ถ้าประเทศใดมีความคิดนี้   มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า  พอประมาณ  ซื่อตรง  ไม่โลภอย่างมาก  คนเราอาจจะสุข  พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้  แต่ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น

 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในทุกอาชีพ ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะภาคเกษตรกรรมเท่านั้น แต่เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร  และตัวอย่างในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง การรู้จักพอประมาณ การมีเหตุผลในการตัดสินใจ รู้ว่าทำไมถึงทำ ทำอย่าง ทำแล้วจะได้อะไร การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือความสามารถในการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤต และที่สำคัญคุณธรรมนำความรู้ คือความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ เสียสละ และการยอมรับเทคโนโลยีรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสมดุล เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชีวิตที่ขับเคลื่อน ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ให้ก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

อ้างอิง  http://krusuranart.com/index.php/2011-11-24-13-43-57/2011-12-01-17-46-30

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น